วิเคราะห์วิจารณ์
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสนอแนวคิดผ่านตัวละครเอก
คือประพันธ์ที่แสดงความรังเกียจ ดูถูกบ้านเกิด แต่กลับไปชื่นชมนิยมวัฒนธรรมตะวันตก
พระองค์ทรงมีพระราชดำริว่า คนไทยควรภูมิใจในวัฒนธรรมไทยไม่ควรหลงนิยมวัฒนธรรมตะวันตกจนเกินไป
จนละเลยความเป็นไทย
ควรรู้จักเลือกสรรสิ่งที่เหมาะสมมาใช้เพื่อเสริมสร้างความเป็นไทยให้โดดเด่นยิ่งขึ้น ดังนั้นแกนของเรื่อง คือ
การรู้จักอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยอันดีงามและในเวลาเดียวกันก็รู้จักเลือกรับวัฒนธรรมตะวันตกบางประการมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้สังคมไทยเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น
บทวิเคราะห์ ตัวละคร
ตัวละครทุกตัวในเรื่องนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเสนอแนวคิดและสารต่างๆ
โดยเสนอผ่านมุมมองของประพันธ์ซึ่งเป็นผู้เล่าเรื่องและตัวละครเหล่านี้
ทำให้เรารู้จักตัวละครได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น 1)ประพันธ์ คือ
ตัวแทนของหนุ่มไทยที่ไปศึกษาต่างประเทศแล้วประทับใจ
คลั่งไคล้วัฒนธรรมของประเทศนั้น ถึงกับกล่าวว่า “เขากำลังเดินห่างออกมาจากถิ่นที่เคยได้รับความสุข(ประเทศอังกฤษ)แลดูไปข้างหน้าก็หวังได้แต่จะได้เห็นความคับแคบและอึดอัดใจ” (ความคิดของประพันธ์ที่มีต่อเมืองไทย)อีกทั้งยังเปรียบ
“รักเมืองไทยเหมือนรักพ่อแม่รักเมืองอังกฤษเหมือนรักเมีย” ความคิดของประพันธ์ยิ่งชัดเจนขึ้นเมื่อประพันธ์เปรียบว่า
เมื่อเคยจากพ่อแม่ไปเห็นสิ่งสวยๆงามๆได้พบกับคนอื่นๆนอกบ้านก็เป็นธรรมดาที่ต้องรู้สึกว่าบ้านพ่อแม่คับแคบอึดอัดคุยกับพ่อแม่ก็ไม่สนุกเท่ากับคุยหนุ่มๆสาวๆและเมื่ออ่านจดหมายฉบับต่อๆไปก็จะเห็นความรู้สึกขัดแย้งของประพันธ์ที่มีต่อสังคมไทยมากขึ้นเขาไม่พอใจประเพณีไม่พอใจสภาพแวดล้อมไม่พอใจเรื่องฐานันดรศักดิ์ซึ่งประพันธ์เห็นว่าทั้งหมดล้วนเป็นเครื่องแสดงความล้าหลัง
เมื่อมาพบอุไรสาวไทยผู้ทันสมัยมีแนวคิดและมีค่านิยมแบบตะวันตกเต็มที่ประพันธ์จึงดูจะมีความสุขขึ้นและทั้งสองได้มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดจนอุไรตั้งครรภ์จึงต้องแต่งงานกันโดยเร็ว
เวลาผ่านไปประพันธ์ก็ประจักษ์แก่ใจว่าเขากับอุไรไม่เหมาะสมกันทั้งคู่จึงต้องหย่ากันและทำให้ประพันธ์คิดได้ว่าผู้หญิงที่เหมาะกับเขานั้นไม่ใช่ผู้หญิงเชยคร่ำครึอย่างแม่กิมเน้ยหรือทันสมัยอย่างอุไรแต่ควรเป็นผู้หญิงที่มีลักษณะผสมผสานกันระหว่างความเป็นไทยกับความเป็นตะวันตกนั่นก็คือศรีมาน
2)อุไร เป็นสาวทันสมัยใจตะวันตกอาจกล่าวได้ว่าอุไรเป็นสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมตะวันตกด้วยความเป็นสาวทันสมัยมีพฤติกรรมแบบสาวตะวันตกไม่ห่วงเนื้อห่วงตัวเต้นรำเป็นชอบเที่ยวกลางคืนมีผู้ชายมารุมล้อมมากมายจนกลายเป็นสาว
“ปอปูลาร์” ทำให้ประพันธ์ชื่นชมและถูกใจมากจึงได้คบหาสมาคมสนิทสนมจนกระทั่งได้แต่งงานกัน
หลังจากแต่งงานพฤติกรรมของอุไรก็มิได้เปลี่ยนแปลงอุไรไม่ได้ทำหน้าที่แม่บ้านชอบข่มขู่สามีดูถูกคนอื่นชอบเที่ยวแม้กระทั่งหลังจากแท้งลูกอุไรก็ยิ่งเที่ยวหนักขึ้นกว่าเดิมและหนักขึ้นเรื่อยๆจนถึงกับไปค้างแรมบ้านชายอื่นทำให้ประพันธ์ต้องขอหย่าอุไรจึงไปอยู่กับพระยาตระเวนนครซึ่งเรียกได้ว่าเป็นชายชู้ต่อมาก็หวนกลับมาหาประพันธ์อีกเพราะถูกพระยาตระเวนนครทิ้งแต่ประพันธ์ปฏิเสธ
อุไรก็กลับไปอยู่บ้านพ่อและแต่งงานกับหลวงพิเศษผลพานิชพ่อค้าผู้มั่งคั่งดังนั้นชีวิตของอุไรแสดงให้เห็นว่าการไม่รู้จักเลือกรับวัฒนธรรมตะวันตกแล้วเลือกนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตแบบไทยๆนั้นเป็นอย่างไร
ฉาก ในเรื่องนี้เป็นสมัยที่คนไทยโดยเฉพาะคนชั้นสูงเพื่อได้รับอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตกใหม่ๆสภาพบ้านเมืองเริ่มมีความเจริญแบบตะวันตกคือมีถนน
หนทางมีการใช้หนังสือพิมพ์ในการสื่อสารผู้อ่านจึงได้เห็นการใช้ภาษาไทยที่มีคำศัพท์และสำนวนภาษาอังกฤษมาปะปนอยู่
กลวิธีการแต่ง หัวใจชายหนุ่มเป็น นวนิยายขนาดสั้น
นำเสนอในรูปแบบของจดหมายนับเป็นประเภทวรรณกรรมแบบตะวันตกเข้ามาในวงวรรณกรรมไทยเนื้อหาในจดหมายเป็นการเล่าเรื่องราวชีวิตของนักเรียนนอกในยุคที่สังคมไทยกำลังปรับเปลี่ยนไปตามอิทธิพลของ
วัฒนธรรมตะวันตก
1.ก่อนอ่านจดหมายฉบับแรกทรงเขียนว่า รามจิตรติ
หรือข้าพเจ้าว่าเป็นผู้รวบรวมจดหมายเหล่านี้
2.ตัวละครทุกตัวเป็นประเภทหลายมิติ
3.การใช้สำนวนภาษาสอดคล้องกับลักษณะของตัวละครมีการใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษรวมทั้งคำสแลงมากมายเหมาะกับประพันธ์ผู้ยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว
4.เนื้อหาในจดหมายแสดงมุมมองของประพันธ์ที่แสดงอย่างตรงไปตรงมาเหมือนจดหมายส่วนตัวทั่วๆไป
..."
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น